วิธีตรวจสอบสายไฟเบอร์ออฟติกมีปัญหาเบื้องต้น How do you fault find Fibre optic cable?

วิธีตรวจสอบสายไฟเบอร์ออฟติกมีปัญหาเบื้องต้น How do you fault find Fibre optic cable?

วิธีตรวจสอบสายไฟเบอร์ออฟติกมีปัญหาเบื้องต้น

How do you fault find Fibre optic cable?

ปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ใช้งานระบบเครือข่ายสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) เมื่อเจอปัญหาการเชื่อมต่อหลุด หรือไม่มีสัญญาณการเชื่อมต่อเข้ามา ทำให้การทำงานหรือการดำเนินธุรกิจต้องหยุดชะงักลง ซึ่งทำให้ระบบเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเราจะมีวิธีการตรวจสอบระบบข่ายสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) อย่างไร ให้ทราบสาเหตุ ได้เร็ว และทันต่อเวลา และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระบบกลับมาใช้งานได้ตามปกติและเร็วที่สุด

ปัจจุบันการเชื่อมต่อด้วยสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) จะมีการนำไปใช้งาน ได้หลากหลายระบบ เช่น ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV), Network IP Camera, PLC, Network Computer, Fiber to the home หรือแม้กระทั้ง อินเตอร์ภายในบ้าน เป็นต้น

การตรวจสอบสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติกมีปัญหา เบื้องต้นมีดังนี้

 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Ethernet Network computer(LAN) หรือ WiFi

(เราจะเน้นที่เฉพาะระบบเน็ทเวิร์คแลน ภายในสำนักงาน ทั่วไปเท่านั้น ไม่รวมถึงระบบ อินเตอร์เน็ทจากภายนอก)

 

อันดับแรก ให้ตรวจสอบสายสัญญาณ Fiber optic patch cord และหรือสายแลน UTP cable ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ Switch Hub ที่ช่อง Fiber optic port ว่ามีการเชื่อมต่อที่แน่น หรือหลวมหรือไม่ และมีไฟแสดงสถานะ ติดอยู่หรือไม่ ทั้งต้นทางและปลายทาง ในกรณีที่ต่อสัญญาณมาจากอาคารอื่น ให้เช็คที่ต้นทางเป็นหลักก่อนเสมอ ถ้าตรวจสอบแล้วยังไม่สามารถใช้งานได้ ก็ให้เช็คหรือลองเปลี่ยนสายเชื่อมต่อ Fiber optic patch cord(Single-mode-สีเหลือง) (Multi-mode สีส้ม/เทา)หรือสายแลน UTP กับวงเน็ทเวิร์คเส้นทาง อื่นหรืออาคารอื่นที่ใช้งานได้อยู่ นำมาเปลี่ยนและทดสอบกับชุดที่ใช้งานไม่ได้นี้ เพื่อทดสอบว่าสาย มีปัญหาหรือไม่ ถ้าผลออกมาแล้วว่าเปลี่ยนสายแล้วก็ยังคงใช้งานไม่ได้เหมือนเดิม ก็ต้องเช็คจุดต่อไป

อันดับสอง ให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ Switch HUB หรือ Media converter นั้นเป็นแบบชนิดที่มี ช่องเสียบ SFP transceiver หรือไม่ ถ้ามีก็ให้ลองทดสอบ ดึงออกมา แล้วเสียบเข้าไปไหม หรือไม่ก็ลองไปเปลี่ยนจาก Switch HUB ตัวอื่นมาที่มี SFP transceiver เพื่อนำมาทดสอบว่า สามารถใช้งานได้หรือไม่ ถ้าเปลี่ยน SFP transceiver แล้ว ยังไม่สามารถใช้งานได้ยังคงมีปัญหาเหมือนเดิม ก็ต้องเช็ค จุดต่อไป

อันดับสาม ตรวจสอบสายสัญญาณ Fiber optic cable ระหว่างอาคาร หรือจุดที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจหาจุดที่มีปัญหา ด้วยเครื่องมือวัด OTDR ซึ่งจำเป็นจะต้องหา บริษัท หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่มีเครื่องมือตรวจสอบเข้ามา เพื่อค้นหาปัญหาในการเชื่อมต่อ หรือทดสอบสายเคเบิลว่ามีปัญหาหรือไม่ เช่น สายขาดระหว่างอาคาร กระรอกกัดแทะ หรือโดนมีดตัดกิ่งไม้ หรือสาเหตุอื่นๆ อีกมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดสอบด้วยเครื่องวัด OTDR จึงจะสามารถค้นหาว่าสายเคเบิลนั้น ขาด หรือชำรุด ณ จุดไหน

ในบางกรณีก็อาจจะโนหนูกัด หรือสายหักอยู่ภายในตู้สื่อสารนั้นๆ ก็ได้เช่นกัน

อันดับสี่ ถ้าตรวจสอบแล้วว่าสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก ใช้งานได้ปกติ หลังจากทดสอบด้วยเครื่องมือวัด

OTDR แล้วนั้น สิ่งสุดท้ายที่จะหาว่าแล้วอะไรเสียก็คือ Ethernet Switch Hub เพราะคือตัวกระจายสัญญาณในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์นั่นเอง เราสามารถทดสอบ ในอันดับสามก่อนการเรียกทีมช่าง เพือค้นหาสายขาดหรือมีปัญหาได้เหมือนกัน กรณี เมื่อเราเปลี่ยน หรือทดสอบโดยการไปหา Switch Hub มาเปลี่ยนและทดสอบดู ถ้าเปลี่ยนแล้ว สามารถใช้งานได้เลยก็จบไป โดยไม่ต้องไปจ้าง ทีมช่างมาตรวจสอบสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก ให้เสียเงิน

 

นั่นคือขั้นตอนเบื้องต้นในการค้นหาจุดที่มีปัญหาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์คแลน ภายในสำนักงานหรือโรงงานทั่วไปนะครับ จะไม่รวมถึงระบบอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะถ้าระบบอินเตอร์เน็คใช้งานไม่ได้ เราก็แค่ต้องโทรไปสอบถามกับผู้ให้บริการว่า ระบบเราไม่สามารถใช้งานได้ ไม่มีสัญญาณ ทางผู้ให้บริการก็จะให้คำแนะนำเราอย่างดีนะครับ แต่ถ้าปัญหาภายในสำนักงาน ทางเขาจะไม่มีคำตอบในการช่วยเหลือให้เรานะครับ

 

Click to >>> บริการตรวจสอบสายไฟเบอร์ออฟติกและซ่อม Fusion Splice Fiber optic cable

 

ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ในการตรวจสอบระบบของคุณ

 

By: BISMON

Tel:0-2563-5000

Email:sale@bismon.com




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ Dual Fiber และ Single Fiber แตกต่างกันอย่างไร ในการเลือกใช้งานอุปกรณ์สำหรับข่ายสาย Fiber optic cable

๐ Fiber optic cable color codes คืออะไร?

๐ อย่าเช็ค หรือ ขัดหัว Connector Fiber optic cable-ทำความสะอาดและตรวจสอบอย่างถูกวิธีดีกว่าไหม

๐ DIN-RAIL Fiber Box

๐ กล่องพักสาย Fiber optic Box สำหรับงานระบบ FTTH, FTTD, FTTO, Networks