ตู้ Rack 19 นิ้ว สำหรับงานระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง

ตู้ Rack 19 นิ้ว สำหรับงานระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง

ตู้ 19” Cabinet Rack สำหรับงานระบบสื่อสารมีกี่แบบ

ตู้เก็บอุปกรณ์สื่อสาร หรือเก็บอุปกรณ์ไอที ที่มีขนาดความกว้างของตู้ที่ 60 ซม. หรือ 19นิ้ว(482.6 มม.) ตามมาตรฐาน EIA(Electronic Industrial Alliance)นั้น โดยถ้าเรียกอย่างเป็นทางการเราจะเรียกว่า “ ตู้แร็ค 19” Cabinet Rack “เป็นหลัก เป็นตู้ที่ใช้งานภายในอาคารทั่วไป โดยในลักษณะของอุปกรณ์ที่นำมาจัดเก็บในตู้แร็ค(Rack) จะมีลักษณะแบนๆและมีด้านข้างเป็นปีก ยื่นออกมาพร้อมรู ยึดน็อต ดังภาพด้านล่าง

ในการจัดเก็บและติดตั้งอุปกรณ์ภายในตู้นั้นเราจะเรียงเสมอด้านหน้าตู้ โดยลักษณะการจัดวางจะเรียงกันเป็นแถวจากล่างขึ้นบน ตามความสูงของตู้ เพื่อง่ายต่อการจัดการระบบหรืออุปกรณ์ภายในตู้

ดังนั้นจะมีวิธีการเลือกตู้แร็ค (Rack)อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละระบบได้อย่างถูกต้อง และประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายมากที่สุด จึงจำเป็นจะต้องรู้รายละเอียด เบื้องต้นดังต่อไปนี้ก่อนทุกครั้ง ก่อนการตัดสินใจ

ลองมาดูว่า ตู้แร็ค (19” Cabinet Rack) แบบใช้งานทั่วไปทั้งชนิดตั้งพื้นและแขวนผนัง โดยแยกออกตามลักษณะการติดตั้งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ดังนี้

  • 19” Cabinet Rack แบบตั้งพื้นใช้งานได้ทั่วไป จะมีขนาดความสูงตั้งแต่ 15U, 27U, 36U, 39U, 42U และ 45U ซึ่งขนาดความสูงของ 1U เท่ากับ 1.75 นิ้ว หรือ 44.45 มิลลิเมตร ดังนั้นในการที่จะเลือกซื้อตู้แร็คสื่อสารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบรายละเอียดว่าจะต้องการติดตั้งอุปกรณ์อะไรบ้างเข้าไปในตู้ และในแต่ละอุปกรณ์จะมีขนาดความสูงที่เท่าไร และหลังจากนั้นค่อยมารวมความสูงทั้งหมดว่า มีความสูงทั้งหมดกี่มิลลิเมตรแล้วคำนวณขนาด U ของตู้ เพื่อที่จะได้เลือกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตัวตู้ถูกออกแบบมาให้มีล้อเพื่อที่จะได้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกและมีฐานปรับตั้งได้กรณีที่ไม่อยากเคลื่อนย้าย สามารถปรับหมุนให้ตั้งอยู่กับที่ได้

อีกหนึ่งสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้นคือ ความลึกตามมาตรฐานของตู้แร็คสื่อสาร จะอยู่ที่ 60ซม., 80 ซม., 90ซม., 100ซม., 110 เซนติเมตร เพราะอุปกรณ์บางประเภท เช่น Computer Server  จะมีความลึกถึง 100 ซม ในบางยี่ห้อ และต้องเพื่อสายไฟที่ยื่นออกมาจากอุปกรณ์อย่างน้อย 5-10 ซม. เพื่อให้โค้งงอได้สะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน

 

รายละเอียดเบื้องต้นในการเลือกตู้แร็ค(Rack)ดังนี้ ในการพิจารณาก่อนซื้อ

- ขนาดความสูงของอุปกรณ์แต่ละตัว ที่จะนำเข้ามาติดตั้งในตู้แร็คทั้งหมด

- จำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์ที่จะนำเข้ามาติดตั้งในตู้แร็ค

- ความลึกสูงสุดของอุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งภายในตู้

- หลังจากได้ความลึกสูงสุดแล้วต้องเพื่อความลึกของสายไฟและสายเคเบิ้ล เพิ่มอีก ประมาณ 10 เซนติเมตร

  • 19” Cabinet Wall Rack แบบแขวนผัง ซึ่งตู้ประเภทนี้จะมีขนาดความสูงที่น้อย โดยเริ่มต้นที่ 6U, 9U และ 12U (1U เท่ากับ 1.75 นิ้ว หรือ 44.45 มิลลิเมตร) ส่วนความลึก เริ่มต้นที่ 40 ซม., 50 ซม. และ 60 ซม. ซึ่งตู้ประเภทนี้จะนิยมนำไปติดตั้งในสถานที่ ที่ต้องการแขวนกับผนังและให้มีพื้นที่ด้านล่าง ว่าง โดยส่วนมากจะเป็นพื้นที่จำกัด ขนาดพื้นที่ไม่กว้างมากนัก และต้องการติดตั้งอุปกรณ์ภายในตู้ไม่มากด้วยเช่นกัน จึงจะสามารถเลือกซื้อและเลือกติดตั้งตู้ประเภท Wall Rack 19 นิ้ว ได้ แถมราคาก็จะถูกกว่าตู้ ตั้งพื้นด้วยเช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน อีกส่วนตู้ประเภทนี้สามารถเปิดได้สองช่วง ด้านตรงกลางตู้ เพื่อสะดวกต่อการจัดการสายเคเบิลของจัดการกับอุปกรณ์ภายในตู้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ส่วนรายละเอียดที่ควรทราบก่อนการสั่งซื้อหรือเลือกซื้อนั้น สามารถดูได้ตามรายะเอียด ด้านบน ของตู้ตั้งพื้นได้เช่นกัน

  • ตู้ 19” Cabinet Server Rack รุ่น Premium Rack จะเป็นตู้ที่นิยมนำไปติดตั้งและเก็บอุปกรณ์ประเภท  Computer Server หรืออุปกรณ์บางประเภทที่ต้องการการระบายอากาศได้ดี เพราะตัวตู้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีการระบายอากาศ ได้โปร่ง ทั้งด้านหน้า รอบๆบานประตู และ ด้านหลัง เพื่อระบายความร้อนออกนอกตู้ และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้นานขึ้นและไม่มีปัญหากวนใจในระบบที่จะตามมา โดยตู้ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานที่ความสูง ตั้งแต่ 42U และ 45U (1U เท่ากับ 1.75 นิ้ว หรือ 44.45 มิลลิเมตร)  เป็นตู้ที่เก็บอุปกรณ์ได้มากที่สุดและปลอดภัยที่สุดในการเก็บรักษาข้อมูลของท่านและองศ์กรของท่าน เช่นกัน

  • ตู้ 19” Cabinet Server Rack รุ่น Curve Rack จะเป็นตู้ที่ได้รับความนิยมสูง อีกประเภทหนึ่ง โดยจะมีขนาดความสูงเริ่มตั้งแต่ 15U, 27U, 36U, 39U, 42U และ 45U (1U เท่ากับ 1.75 นิ้ว หรือ 44.45 มิลลิเมตร) แต่ที่ได้รับความนิยมมาก จะเป็นรุ่น 42U  และ 45U เป็นต้น ทั้งนี้ในการเลือกให้จัดเก็บอุปกรณ์ไอทีและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ เพราะตู้รุ่นนี้จะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้มีการระบายอากาศ ได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยมีรูระบายอากาศแบบเต็มบานประตู ซึ่งลักษณะเด่นอีก หนึ่งประเภทคือ บานประตูด้านหน้าจะโค้งมน สวยงาม มีดีไซด์และด้านหลังจะมีประตูบานเปิด 2 บาน เพื่อง่ายต่อการติดตั้งอปกรณ์และบำรุงรักษา จึงเป็นที่นิยมในการเลือกซื้อ ทั้งยังมีการออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมาก

  • ตู้แบบ Open Rack 19” ที่ไม่มีประตูเปิด หรือปิด จะมีแต่เสาทั้งสองด้าน โดยจะมีความสูงตั้งแต่ 27U, 36U และ 42U โดยจะมีความลึกที่ 750 มม. และ หน้ากว้าง  600 มม.(19นิ้ว)  ซึ่งตู้ประเภทนี้จะเหมาะกับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องการโชว์อุปกรณ์หรือต้องการระบายอากาศโดยเฉพาะ ไม่ต้องมีประตูเปิดหรือปิด ในการติดตั้ง ตัวตู้ทุกรุ่นจะมีล้อสำหรับเลื่อนได้โดยจะสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 100 กิโลกรัม เป็นต้น

รางไฟสำหรับติดตั้งกับตู้แร็ค(Rack)นั้นจะไม่ใช่รางไฟที่มีขายตามร้านไอทีทั่วไป เพราะจะผลิตและออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับตู้สื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งผลิตจากโลหะเหล็กชนิด Electro-galvanized ที่ป้องกันสนิมได้ดี และอุปกรณ์เต้ารับสำหรับ AC power Outlet ก็จะสามารถทนกระแส ได้ถึง 15-30A พร้อมสายไฟและอุปกรณ์ประกอบต่างๆที่มีความสำคัญอย่างมากในการใช้งานอย่างปลอดภัย โดยจะมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

 

- สามารถรองรับเต้ารับได้ตั้งแต่ 4, 6, 8, 12, 20 ช่อง  AC Outlet Universal

- ผลิตจากเหล็ก Electro-galvanized ที่มีความแข็งแรงและป้องกันสนิม 100%

- ทนกระแสได้ 15A, 220 โวลท์, 1 เฟส, 50 เฮิรตท์

- ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินและลัดวงจรด้วย Electronic circuit breaker หรือ Miniature circuit breaker (กรณีสั่งทำพิเศษ)

- ป้องกันไฟกระชากด้วย Line Suppression. Withstanding surge current 10 KA. Champing voltage 775V.

- สวิทซ์ ปิด-เปิด พร้อมไฟแสดงสภาวะการทำงาน

- ระบบป้องกันไฟรั่ว(grounding) เพื่อความปลอดภัย

- สายไฟขนาด 2.5 mm2 (14 AWG) 3C ยาว 3 เมตรพร้อมปลั๊ก

- เต้ารับแบบ 3 ขา (Duplex universal type (L, N, G)

- ขนาด 4,6,8,12 และ 20 Outlets โดยขนาด 6 outlet สามารถติดตั้งในแนวนอนตามระยะ 19” ของ Rack ได้ ( ขนาด 4 outlet กรณีสั่งทำ)

- ติดตั้งได้ทั้ง RACK ของ P POWER C และ RACK ของยี่ห้ออื่นๆ ที่ผลิตตามฐาน 19″

- สายไฟมาตรฐาน UL E150631, ปลั๊กมาตรฐาน UL E147650

 

โดยการจะเลือกรางไฟ ขนาดจำนวนเต้ารับเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของตู้ และจำนวนอุปกรณ์ที่เราจะติดตั้งเข้าไปในตู้สื่อสารนั้นๆ เป็นหลัก

  • พัดลมระบายอากาศ (Ventilating Fan) สำหรับติดตั้งในตู้แร็ค(Rack) สื่อสารขนาด 19นิ้ว จะเป็นพัดลมที่มีขนาด 4 นิ้ว x 4 นิ้ว สามารถใช้งานกับกระแสไฟฟ้า AC 220V ได้ โดยในการเลือกใช้งานพัดลมนั้น เราสามารถเลือกได้ตามแบบมาตรฐานจะติดตั้งประมาณ 2 ตัว แต่ลูกค้าสามารถติดตั้งเพิ่มได้เต็มที่ 4 ตัว หรือขึ้นอยู่กับลักษณะของตู้แร็คในแต่ละยี่ห้อที่สามารถรองรับการติดตั้งพัดลมได้ กี่ตัว

 

เช่น ตู้ชนิด Wall Rack 6U, 9U และ  12U จะสามารถติดตั้งพัดลมได้ 1-2 ตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ภายในตู้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่ต้องการระบายความร้อนอยู่มากน้อยเพียงใด เป็นต้น

 

-Fix Shelve คือ ถาดรองอุปกรณ์ที่ติดตั้งในตู้แร็ค(Rack) โดยไม่สามารถเลื่อนออกมาได้แบบยึดแน่น ซึ่งจะมีขนาดความลึกตั้งแต่ 45ซม, 60 ซม, 75 ซม, 80 ซม., 95 ซม. ซึ่งการเลือกซื้อจะต้องทราบก่อนว่าตู้ที่เราจะนำไปติดตั้งมีความลึกเท่าไร โดยจะต้องเลือกถาดรองอุปกรณ์ให้สั้นกว่าตู้ที่เราจะนำไปติดตั้งเสมอ เช่น ตู้แร็คมีความลึก 80 ซม. เราต้องเลือกถาดรองอุปกรณ์ให้มีความลึกที่ 60 หรือ 75 ซม. เป็นต้น โดยถาดจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ 75 กิโลกรัมต่อชิ้น

-Slide Shelve คือถาดรองอุปกรณ์แบบเลื่อนได้เหมือนลิ้นชัก โดยรางลูกปืน ซึ่งจะสะดวกต่อการใช้งานในกรณีที่ต้องการดึงอุปกรณ์ออกมาใช้งานในบางระบบ ซึ่งจะมีขนาดความลึกตั้งแต่ 45ซม, 60 ซม, 75 ซม, 80 ซม., 95 ซม. ซึ่งการเลือกซื้อจะต้องทราบก่อนว่าตู้ที่เราจะนำไปติดตั้งมีความลึกเท่าไร โดยจะต้องเลือกถาดรองอุปกรณ์ให้สั้นกว่าตู้ที่เราจะนำไปติดตั้ง เช่น ตู้แร็คมีความลึก 80 ซม. เราต้องเลือกถาดรองอุปกรณ์ให้มีความลึกที่ 60 หรือ 75 ซม. เป็นต้น โดยถาดจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัมต่อชิ้น แต่จะต้องติดตั้งตัว Support Rack ทั้งสี่มุม เพื่อรองรับนำหนักที่กดทับได้

-Fix Shelve for Wall Rack คือถาดรองอุปกรณ์สำหรับตู้แบบแขวนผนัง เช่น  6U, 9U, 12U ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วตู้ประเภทนี้จะมีความลึกไม่มากนัก เช่น ลึก 40, 50,60 ซม. เป็นต้น จึงได้ออกแบบถาดวางอุปกรณ์ที่มีขนาดความลึกที่ 30 ซม ขึ้นมาเพื่อที่จะได้สามารถติดตั้งกับตู้ประเภทแขวนได้ โดยจะสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 50 กิโลกรัม และติดตั้งที่เสาหน้าตู้แร็คเพียง 2 เสาหน้าเท่านั้น

-Blank Panel for cabinet Rack คือแผ่นปิดช่องว่างหน้าตู้แร็ค(Rack) ซึ่งถามว่าทำไมต้องมี เพราะว่าในบางครั้งเราได้เลือกซื้อตู้แร็คความสูงมาที่เพื่อไว้ใส่อุปกรณ์ในอนาคต แต่นะตอนนี้ยังไม่มีการติดตั้ง พอเราติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้วแต่ไม่เต็มตู้มีช่องว่าง ด้านบน หรือด้านล่าง เราจึงจำเป็นจะต้องใส่ Blank panel แผ่นปิดช่องว่างให้ตู้ดูสวยและเรียบร้อย ทั้งยังสามารถกันฝุ่นละอองเข้าไปในตู้ได้ เช่นกัน ขนาดของ  Blank panel  จะมีขนาดตั้งแต่ 1U, 2U, 3U, 4U, 5U, 6U, 7U, 8U

-Cassis Guide คือฉากรองอุปกรณ์ สำหรับติดตั้งในตู้แร็ค โดยจะมีขนาดความลึก ตั้งแต่ 45 ซม., 65 ซม., 75 ซม., 95 ซม. ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะความลึกของตู้แร็ค ที่เราเลือกซื้อนั่นเอง

-Joint Kit คือชุดต่อตู้แร็คให้ติดกัน ซึ่งในบางครั้งเราต้องการต่อตู้ให้ติดกันและต้องการดึงสายเคเบิลเข้าหากันโดยไม่ต้องใส่ฝาข้างที่ติดกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน

 

-Support for Shelf(Export Rack) คือฉากรองรับการติดตั้งถาดรองรับอุปกรณ์(Fix หรือ Slide Shelve) ที่ติดตั้งกับเสาตู้แร็คทั้งสี่มุม ภายในตู้

-Cage Nut  คือชุดน็อคที่สามารถยึดอุปกรณ์หน้าตู้แร็คกับเสาตู้เข้าหากัน โดยส่วนใหญ่เวลาซื้อตู้แร็คจะมีแถมมาให้อยู่แล้ว แต่ในบางครั้งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงจำเป็นจะต้องสั่งซื้อเข้ามาสำรองไว้ เพื่อมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์เข้าไปในตู้แร็คในภายหลัง

 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าตู้แร็คสื่อสาร  19” Cabinet Rack มีกี่แบบและมีวิธีเลือกซื้อและใช้งานเบื้องต้นเท่านั้น เพราะบางยี่ห้อ หรือบางชนิดก็จะมีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปอีก ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นหลัก แต่ข้อมูลเบื้องต้นก็สามารถเพียงพอที่จะนำไปใช้งานในการเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

BY:BISMON

 

e-mal:sale@bismon.com

Tel:0-2563-5000

Line@BISMON




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ NEW! สินค้าใหม่แนะนำ 48 Core 2U ODF Rack mount Fiber optic

๐ Cable Management Panel for 19inch cabinet Rack หรือแผงจัดสายเคเบิลมีกี่แบบและมีประโยชน์อย่างไร

๐ การติดตั้ง Closure Fiber และ Loop สายไฟเบอร์ออฟติก บนเสาไฟฟ้า

๐ Fiber Loose tube vs Tight Buffer cable ต่างกันอย่างไร

๐ 10G RJ45 10GBase-T Ethernet to 10GBaseX SFP+ Slot Fiber Media Converter