มาทำความรู้จัก Jacket Rating ของสายแลนเคเบิลเครือข่าย CM vs CMR vs CMP vs CMX

มาทำความรู้จัก Jacket Rating ของสายแลนเคเบิลเครือข่าย CM vs CMR vs CMP vs CMX

มาทำความรู้จัก Jacket Rating ของสายเคเบิลเครือข่าย  CM vs. CMR vs. CMP vs. CMX

เมื่อคุณจะทำการติดตั้งสาย Ethernet cable ไม่ว่าจะเป็นในผนังหรือบนเพดานหรือภายนอกอาคาร คุณอาจจะเห็นคำย่อเหล่านี้ เช่น CM/CMG, CMR, CMP, CMX จากช็อปสินค้าของ Distributor หรือตามเว็บไซต์ช็อปปิ้งว่ามันคืออะไรกันแน่ โดยคำย่อเหล่านี้จะกำหนดโดย National Electric Code (NEC) ได้ตั้งคำย่อเหล่านี้เพื่อแยกประสิทธิภาพในการใช้งานของสายเคเบิ้ล (UTP/FTP) ที่มีความสามารถในการหน่วงไฟหรือลามของไฟ ตามความปลอดภัยจากอัคคีภัย (ตามมาตรฐาน UL)  เพื่อให้ใช้งานได้เหมาะสมในสถานที่ติดตั้งที่แตกต่างกันไป อย่างงานระดับโครงการหรือคอนโดที่ติดตั้งครั้งนึงต้องใช้งานได้ยาวนาน เพื่อให้คุณได้เลือกใช้สายเคเบิลได้เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด

 

CM/CMG Cable Jacket

CM ย่อมาจาก “Communications Multipurpose” หรือ CMP ย่อมาจาก “Communications Multipurpose General” สายเคเบิ้ลที่มี jacket แบบ CM ส่วนมากจะนิยมเดินสายภายในชั้น หรือติดตั้งราบไปกับพื้น ไม่เหมาะที่จะเดินสายข้ามชั้นเพื่อไปเชื่อมที่ชั้นอื่นหรือติดตั้งในผนัง จะป้องกันการลามไฟลามในแนวราบเท่านั้น แต่ไม่ป้องกันลามไฟในแนวดิ่ง  โดยผ่านการทดสอบ “Vertical-tray flame test" ตามมาตรฐาน UL 1685 ซึ่งหมายความว่าโดยปกติแล้วไฟจะลามไม่เกิน 8 ฟุต แล้วจะดับลงได้เอง CM/CMG ไม่เหมาะที่จะติดตั้งในพื้นที่ plenum และ riser เหมาะสำหรับเดินสายภายในชั้นและเชื่อมต่อทั่วไป

 

CMR (Riser) Cable Jacket

ต่อไป CMR ย่อมาจาก “Communications Multipurpose Riser” สายประเภทนี้ Jacket จะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ไฟลุกลามในแนวดิ่ง ไม่ให้ไฟลามไปชั้นอื่น เหมาะสำหรับงานติดตั้งตามช่อง Riser ในห้อง Shaft ของอาคารสูงที่เชื่อมถึงกันในแต่ล่ะชั้นโดยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ Conduit การทดสอบที่ใช้กับสายเคเบิล CMR กำหนดไว้ในมาตรฐาน UL 1666 Riser Cable Fire Test ซึ่งจำกัดความสูงของการแพร่กระจายของเปลวไฟและไฟดับเองได้เร็ว

 

CMP (Plenum) Cable Jacket

CMR ย่อมาจาก “Communications Multipurpose Plenum” สายแบบ Plenum ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพในป้องกันไฟได้ดี Jacket ของสาย CMP มีสารหน่วงไฟมากที่สุดในกลุ่มและจำกัดปริมาณควันที่ปล่อยออกมาในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และป้องกันไม่ให้เปลวไฟลุกลามออกไปเกิน 5 ฟุต ตามมาตรฐาน NFPA 262 standard ทำให้สาย CMP เหมาะสมที่จะติดตั้งในบนช่องเพดานที่มีช่องว่างอากาศ (HVAC) หรือ ห้องที่พื้นยกสูง (Raised floor) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินภายในท่อ

 

CMX Cable Jacket

แบบสุดท้ายคือ CMX หรือสายประเภท Outdoor เหมาะสำหรับฝังดินหรือเดินแขวานเสาในพื้นที่เปิดโล่ง เนื่องจากทนต่อรังสียูวีและทนต่อสภาพอากาศซึ่งเหมาะสำหรับให้ใช้งานกลางแจ้ง

สำหรับงาน Indoor เราควรเลือกอะไร ?  CM vs. CMR vs. CMP
แล้วเราควรใช้แบบไหน คุณจะเห็นได้ว่ามาตรฐานของสายแต่ล่ะประเภทก็เหมาะที่จะใช้งานได้แตกต่างกันออกไป มีข้อดี และ ข้อเสียที่ต่างกันออกไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินสายให้สูงสุด สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าประเภทของสายเคเบิลที่เลือกนั้นตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับโครงการของคุณหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ใช้สายเคเบิล CMP เนื่องจากสามารถใช้แทนได้กับสายเคเบิลทุกประเภท แต่ก็มีราคาแพงกว่าสายประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม สายเคเบิลประเภท CMR ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน หากคุณไม่ต้องการเดินสายไฟผ่านท่อลม (Air Duct) สายเคเบิล CMR ก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน CM ก็เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป 

 

สรุป

CM = เหมาะกับการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน

CMR = สามารถป้องกันไฟลามในแนวราบและแนวดิ่งเดินสายระหว่างชั้น

CMP = เหมาะเดินในฝ้าเพดานหรือห้องที่ติดตั้งพื้นยกสูง

CMX = เหมาะสำหรับงาน Outdoor เพราะทนต่อ UV 

 

สายแลนของ BISMON ได้มาตรฐาน UL (Underwriters Laboratories) มั่นใจได้ในคุณภาพ

 

แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรกับการเลือกใช้สายที่เป็น CM, CMR, CMX, CMP?

สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานทั่วไปที่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อาจจะต้องเลือกประเภทของสายก่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นระบบองศ์กรขนาดใหญ่ หรืออาคารสูง ที่มีระบบสายเคเบิล จำนวนมาก ซึ่งถ้าหากเกิดเพลิงใหม้ขึ้น อาจจะเป็นเชื้อไฟ อย่างดีในการลามไฟ

 

ส่วนลูกค้าตามบ้าน และสำนักงานขนาดเล็ก ก็คงไม่จำเป็น หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้งานในแต่ละบุคคลไป ในการเลือกใช้งานของสายแลน ประเภทนี้

โดยส่วนมากจะเน้นที่คุณภาพในการส่งสัญญาณเป็นหลัก ที่ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น ติดตั้งได้ไกล ถึง 90 เมตร แล้วความเร็วไม่ตก และได้เต็มสปีด เป็นต้น

 

ยินดีให้คำปรึกษาในการออกแบบระบบที่เกี่ยวข้องกับข่ายสายสัญญาณ พร้อมแนะนำการเขียน TOR สำหรับงานโครงการภาครัฐและเอกชน ทั่วไป

 

By: BISMON

e-mail:sale@bismon.com

Tel:0-2563-5000




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ New! Inline Closure Fiber optic cable 48 Core(Max.96 Core)

๐ (ภาคต่อ)คุณรู้จักสายสัญญาณในระบบ สายแลน (LAN) UTP Outdoor กันดีหรือยัง

๐ สาย Fiber optic cable Single-mode ชนิด G.652D ต่างกับ G.657A อย่างไร

๐ Drop wire VS Small fig.8 fiber optic แตกต่างกันอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร

๐ มอก.2165-2561 สายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก สำหรับร้อยท่อฝังดินโดยตรงและแขวนในอากาศโดยใช้ลวดพัน