การติดตั้ง Closure Fiber และ Loop สายไฟเบอร์ออฟติก บนเสาไฟฟ้า

การติดตั้ง Closure Fiber และ Loop สายไฟเบอร์ออฟติก บนเสาไฟฟ้า

มาตรฐานการติดตั้ง กล่อง Closure Inline สำหรับสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก(Installation Fiber optic cable) และการ Loop สายมีมาตรฐานอย่างไรบ้าง

ยังคงเป็นปัญหาสำหรับทีมช่างมือใหม่ และทีมติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติกทั่วไป ที่ไม่ได้เคยผ่านงานติดตั้งสำหรับงานองศ์กรใหญ่ๆ เช่นของ TOT, CAT หรือ การไฟฟ้าเป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะหาข้อมูลมาตรฐานต่างๆในการเก็บจุดต่อสาย และการเก็บม้วนสาย(Loop Cable) อย่างถูกวิธีนั้นควรทำอย่างไร

-คำย่อในบทความ-

ODP ย่อมาจาก Optical Distribution Point  คือ เป็นอุกรณ์ตู้พักปลายทางรองรับ through adapter ที่ไม่มี Optical Splitter เพื่อกระจาย Drop wire Fiber ไปต่อเชื่อมกับ TB หรือ ONU/ONT (แล้วแต่การออกแบบเพื่อความเหมาะสม)

SDP ย่อมาจาก Splitter Distribution Point คือ ตู้พักปลายทางติดตั้งรองรับ Optical Splitter, through adapter เพื่อกระจาย Drop wire fiber ไปต่อเชื่อมกับ TB  หรือ ONU/ONT (แล้วแต่การออกแบบเพื่อความเหมาะสม)

โดยในที่นี้จะนำเสนอข้อมูลจากหน่อวยงานของ TOT ใน 3 รูปแบบ ดังนี้
 

แบบที่ 1 ติดตั้ง Closure Inline(กล่องเก็บจุดต่อภายนอก) (ODP/SDP) ด้านขวาของเสาไฟฟ้า

ดังรูปด้านบนจะเป็นการติดตั้งกล่อง Closure ทางด้านขวาของเสาไฟฟ้า จะมีขนาด ระยะ ลักษณะการจัดวางดังรูปที่ได้มาตรฐาน ส่วนกล่องเก็บสาย ODP/SDP นั้นต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานจริง ของแต่ละระบบ และขนาดจำนวนของสายเคเบิ้ลไฟเบอร์ออฟติกว่าจะมีจำนวนกี่ Core เพื่อจะได้ออกแบบได้อย่างถูกต้อง ดังนี้ที่จะต้องรู้เบื้องต้น

  • สายไฟเบอร์ออฟติกมีจำนวนกี่แกน(Core) เพื่อจะได้เลือกกล่อง Closure ได้อย่างเพียงพอ โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 4-288 Core
  • กล่อง Closure แบบ Inline สี่เหลี่ยมก็จะมีทั้งแบบ ใช้มือเปิด Snap lock โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆช่วยในการเปิด เพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง แต่ก็จะมีอีกรุ่นที่จะใช้เครื่องมือในการเปิด เพราะจะล็อคด้วยน็อต ดังรูป

       

แบบที่ 2 ติดตั้ง Closure Inline(กล่องเก็บจุดต่อภายนอก) (ODP/SDP) ด้านซ้ายของเสาไฟฟ้าต้นสุดท้าย

แบบที่ 3 ติดตั้ง Closure Inline(กล่องเก็บจุดต่อภายนอก) (ODP/SDP) ด้านขวาของเสาไฟฟ้าไม่มี Service Loop

ดังที่เราได้เห็นไปแล้วนั้น ทั้ง 3 รูปแบบ ที่มีการติดตั้งกล่องเก็บจุดต่อ Closure หรือกล่องแยก Splitter ก็ตาม จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและได้มาตรฐานสากล ในการติดตั้งบนเสาไฟฟ้า ทั้งในถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล เพื่อที่จะได้สะดวกในการบำรุงรักษาและสวยงามแบบมืออาชีพเขาทำกัน

เราสามารถนำทั้ง 3 รูปแบบมาประยุกต์ใช้งานได้แทบทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบอินเตอร์เน็ต ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบสัญญาณไร้สาย(WiFi) หรือระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับข่ายสายไฟเบอร์ออฟติก ได้ทั้งหมด

 

 BY: BISMON

e-mail: technical@bismon.com




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ ทำไมเราจำเป็นต้องใช้ Wall mount Indoor Fiber optic cable

๐ ทำไม! สายไฟเบอร์ออฟติก จะต้องมีมาตรฐาน มอก.? (มาตรฐานอุตสาหกรรม)

๐ คุณรู้จักสายสัญญาณในระบบ Ethernet LAN Indoor กันดีหรือยัง

๐ กล่องต่อสาย Fiber Closure Splice Dome และ Inline ต่างกันอย่างไร

๐ สาย Fiber optic cable Single-mode ชนิด G.652D ต่างกับ G.657A อย่างไร