วิธีทำความสะอาดเครื่อง Fusion Splicer Machine

วิธีทำความสะอาดเครื่อง Fusion Splicer Machine

เนื่องจากเครื่อง Fusion Splice มีราคาค่อนข้างสูงเพื่อยืดอายุการใช้งานจึงจำเป็นจะต้องมีการดูแลรักษาเครื่องอย่างเป็นประจำและถูกวิธี และเพื่อช่วยให้การ Splice หรือการเชื่อมต่อ ของสายไฟเบอร์ออฟติกเกิดผลลัพธ์ที่ดีมีค่า loss ที่ต่ำ ส่งผ่านข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดและตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ โดยทำความสะอาดแต่ละส่วนด้วยสำลีก้าน (Cleaning Swabs) แบบพิเศษไร้ฝุ่นเพื่อการทำความสะอาดเครื่อง Fusion Splicer อย่างเป็นประจำและช่วยรักษาประสิทธิภาพของเครื่องได้ ในวันนี้เราจะใช้ภาพของเครื่อง Fusion Splice รุ่น M9 ของยี่ห้อ Bismon เองในการนำเสนอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกันทั้งหมดในตลาด

ส่วนต่างๆที่ควรทำความสะอาดมี ดังนี้

1. ตำแหน่ง V-grooves
2. ตำแหน่งเข็ม Electrode
3. ตำแหน่งแท่นจับสาย Bare fiber pads หรือ Fiber Holder
4. ตำแหน่งเลนส์ Microscopes (objective lenses)
5. ตำแหน่งแท่นอบ Sleeve (heat shrink oven)
 

ตำแหน่ง V-grooves

  • เตรียมก้านสำลี (Cleaning Cotton Swabs) ควรเลือกชนิดแบบใร้ฝุ่น หรือแบบนุ่ม ชุบแอลกอฮอล์บริสุทธิ์แล้วเช็ดไปที่พื้นผิวของ V-grooves ทั้ง 2 ข้างช้าๆ หรือในบางกรณีอาจจะใช้ปลายแหลมของใบมีดคัตเตอร์ วางเบาๆลงบนช่องที่วางสาย แล้วรูดเบาๆ เพื่อเอาเศษฝุ่นละออง ออกจากร่องวางแท่งแก้ว เพื่อให้แท่งแก้วอยู่ในร่อง อย่างเหมาะสมในการเชื่อมต่อทุกครั้ง ลดการผิดพลาดในการ เชื่อมต่อ ให้มากที่สุด

  • เพราะฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่อยู่ในร่อง V-grooves มีผลทำให้เส้นไฟเบอร์ ทางด้านซ้ายหรือขวา ตำแหน่งหน้า End-face ไม่ตรงกันและทำให้เกิดค่า loss สูงกว่าปกติได้

 

ตำแหน่งเข็ม Electrode

  • เช็ดทำความสะอาด อิเล็กโทรดด้วยแอลกอฮอล์ (IPA) บริสุทธิ์ 99%
  • ระวังอย่าให้นิ้วมือสัมผัสพื้นผิวของอิเล็กโทรดโดยตรง

 

ตำแหน่งแท่นจับสาย Bare fiber pads หรือ Fiber Holder

  • ใช้ก้านสำลีชุบแอลกอฮอล์ และเช็คลงไปบนผิว Bare fiber pads หรือ Fiber holder (ระวังอย่าออกแรงมากเกินไป) และใช้ก้านสำลีแบบแห้งเช็คซ้ำอีกครั้ง
  • ถ้าหากมีคราบสกปรกอยู่บน Bare fiber pads หรือ Fiber holder จะทำให้การยึดจับสายไม่แน่นจะส่งผลให้การ Splice หรือ เชื่อมต่อ ไม่ได้คุณภาพและเกิดค่า loss ที่สูงขึ้นได้ 
  • เช็คน็อค ที่ยึดจับแท่น Fiber holder ว่ามีความมั่นคง หลวมหรือไม่ ลองขยับ หรือโยก เพื่อตรวจสอบ เพราะถ้าไม่แน่น จะทำให้เวลา มอเตอร์ดึงสายเข้า เพื่อเชื่อมต่อไม่ตรงลักษณะที่ดี ทำให้เกิดค่า Loss หรืออาการผิดปกติ ต่างๆได้เช่นกัน

 

ตำแหน่งเลนส์ Microscopes (objective lenses)

  • ถ้าหน้าเลนส์ Microscopes (objective lenses) มีฝุ่นเกาะหรือสกปรก จะส่งผลให้เกิดการประมวลผลภาพไม่สมบูรณ์
  • ถอดเข็ม electrodes ออกก่อน (ห้ามจับที่ตัวเข็ม) แล้วใช้ก้านสำลีชุบแอลกอฮอล์(แนะนำอุปกรณ์ทำความสะอาดเลนส์โดยเฉพาะไร้ฝุ่น) ค่อยๆเช็คหน้าเลนส์ของ Microscopes ในลักษณะวนเป็นวงกลม
  • ใช้ก้านสำลี(ชนิดพิเศษสำหรับเช็คเลนส์) แบบแห้งเช็คซ้ำอีกครั้ง แล้วใส่เข็ม electrodes กลับคืน เป็นอันเสร็จสิ้น ในการทำความสะอาด
  • ในบางกรณี จะแนะนำ ให้ใช้ ลูกยางเป่าลม ชนิดปลายแหลม แบบใช้มือบีบได้ เพื่อเป่าฝุ่น ด้านในเครื่อง บริเวณเลนส์และบริเวณรอบๆ เพื่อขจัดฝุ่น แบบง่าย

 

ตำแหน่งแท่น อบ Sleeve (heat shrink oven)

  • ที่แท่น อบ Sleeve (Heat shrink oven) ก็เป็นอีกจุด ที่สกปรกได้ง่าย คุณสามารถทำความสะอาดง่ายๆได้ด้วยก้านสำลีชุบแอลกอฮอลส์ โดยเช็คบริเวณด้านในแท่น อบและแคมป์จับสาย

 

ทั้งนี่การดูแลและบำรุงรักษาเครื่อง Fusion Splicer สำหรับการเชื่อมต่อสายให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตลอด เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ของทีมช่าง หรือบริษัท ผู้ให้บริการบำรุงรักษาโครงข่ายสายไฟเบอร์ออฟติก เพื่อให้ทุกการเชื่อมต่อไม่ผิดพลาด หรือผิดพลาดน้อยที่สุด

 

อุปกรณ์ทำความสะอาด ชนิดต่างๆ

 

By: BISMON

Line@BISMON

E-mail:sale@bismon.com

Tel:0-2563-5000

 

 

 

 

 

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ Fiber Loose tube vs Tight Buffer cable ต่างกันอย่างไร

๐ หัวตัวผู้สายแลน แบบทะลุ(Easy Plug) ดีกว่าแบบ ธรรมดาอย่างไรบ้าง

๐ Adapters & Connectors Fiber optic มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

๐ สายแลน(UTP)Un-shielded Twisted pair กับ สาย Coaxial ใช้งานต่างกันอย่างไรในระบบ CCTV

๐ มาทำความรู้จัก กับสายแลน UTP Cat5 และ Cat.6