
หัวตัวผู้สายแลน แบบทะลุ(Easy Plug) ดีกว่าแบบ ธรรมดาอย่างไรบ้าง
หัวแลน RJ45 PLUG ตัวผู้ ชนิด Cat.5e และ Cat.6 แบบ แทงทะลุ รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เริ่มนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน แล้วมันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง กับรูปแบบเดิมๆ ที่คุณเคยใช้กัน ลองมาดูกัน
เราเชื่อว่า ช่าง หรือ ผู้ที่สนใจทั่วไปคงเคยลองใช้งาน เข้าสายแลน ที่ใช้หัวแลน ตัวผู้(RJ45 Plug) แบบธรรมดากันมาแล้วใช่ไหม
ดังนั้น สิ่งที่เป็น ปัญหาของช่าง มือใหม่ หรือมือเก่า ที่เคยเจอกันมาเทียบจะทุกคนก็คือ ดันสายไม่ชนขอบด้านใน
อันดับแรกคือ สายแลน (UTP Cable) ชนิด Cat.5e ที่เมื่อเวลาเข้าหัวสาย เราจำเป็นจะต้อง ปอกเปลือกสายออก และ ทำการ คลี่สายที่ตีเกลียวกันออกมา เพื่อเรียงคู่สี ให้ตรงตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A/B (เทคนิคอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยได้ เรื่องการเข้าสายที่ดี ต้องพยายามอย่าคลี่สายในคู่แตกออกมามากเกินกว่าจะใส่เข้าไปในหัวตัวผู้ เพราะจะทำให้สัญญาณที่ส่งไม่เต็มประสิทธิภาพ)
?
ขั้นตอนง่ายๆที่ สามารถทำตามได้
แล้วหลังจากนั้นก็ทำการวัดระยะแล้วทำการตัดปลายสาย ให้เสมอกันด้วยคีมหรืออุปกรณ์ที่ดี แล้วจึงดันเข้าไปในร่อง ของหัวตัวผู้(RJ45 Plug) ให้สุด แล้วจึงใช้คีม บีบย้ำสาย กดย้ำให้แน่น(Crimping Tools)
ตรงจุดนี้เอง ที่คุณ และ ช่างหลายๆท่านคงเคย เจอคือปัญหา ดันสายเข้าไปแล้วไม่สุด หรือไม่ชนกับหัวคอนเน็คเตอร์ RJ45 Plug ด้านใน ทำให้สายไม่ผ่านการทดสอบ ด้วยเครื่องวัด และต้องตัดทิ้ง ทำให้สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญ คือความเร็วในการทำงานจะช้า เพราะงานบางงาน ต้องแข่งกับเวลา
ดังนั้น หัวแลน (RJ45 Plug) รุ่นใหม่นี้ ได้ผ่านการค้นคว้า และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ จึงออกแบบเพื่อช่วยให้คุณ และ ช่าง สามารถใช้งานสายเคเบิ้ลและเข้าหัวสายแลน แบบทะลุ (Easy plug RJ45 Cat.5e) ได้อย่างง่ายดาย และ มีประสิทธิ์ภาพ สูงสุด และไม่เปลืองหัวตัวผู้ ที่เสียไปกับการใช้งานที่ยาก หรือความไม่ชำนาญการใช้งาน การใช้หัวรุ่น Easy plug RJ45 cat5e จึงตอบโจทย์การทำงานได้อย่างดี และ รวดเร็ว ประหยัดเวลา ได้มาก
อันดับสอง คือ สายแลน (UTP Cable) ชนิด Cat.6 สายแลนชนิดนี้ จะมีปัญหามาก สำหรับมือใหม่ เพราะจะมี แผ่นรองสาย(insert bar) ก่อนดันเข้าไปในหัว ตัวผู้(RJ45 Plug) ดังรูปนี่คือหัวตัวผู้แบบทั่วไป
ภาพด้านขวา คือ หัวแลนตัวผู้ รุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการใช้งาน ที่ทำให้ง่ายขึ้น และรวดเร็ว ต่อการทำงาน ถ้าเราสามารถทำงาน ได้มากขึ้น ในเวลาที่เท่ากัน ลองนึกดูนะครับ สำหรับทีมบริการ หรือบริษัทที่รับจ้างติดตั้ง ถ้าเข้าสาย Cat.6 สัก 1000 หัว จะต้องใช้เวลาเท่าไร และ คนงานกี่คน
ถ้าเราสามารถทำงานให้จบเร็ว ต้นทุนก็น้อย และสามารถรับงานได้มากขึ้น หรือมีเวลาที่จะทำอย่างอื่นได้มากขึ้น หัวแลน รุ่นใหม่ คือคำตอบที่ดีที่สุดใน ปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดี สำหรับ ช่าง หรือบุคคลทั่วไป เพราะยังติดภาพ เดิมๆ และกลัวปัญหา ที่จะตามมา เรื่องของ ประสิทธิภาพการใช้งาน
ดังนั้น หัวแลน RJ45 Plug Cat.6 รุ่นนี้ จึงมีการคิดค้น และทดสอบ มาเป็นอย่างดี จากโรงงานประเทศไต้หวัน โดยวัสดุ ทั้งขาที่เคลือบทอง ไมครอนที่ได้มาตรฐาน และ วัสดุต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน จะต้องประกอบเป็นชุดเดียวกัน พร้อมด้วย คีมบีบย้ำ (Crimping Tools) ที่ได้ผ่านการคิดค้นและออกแบบ มาเป็นอย่างดี
เราลองมาดู ขั้นตอนในการเข้าสาย ด้วยหัว รุ่นใหม่ที่ไม่ต้องใช้ Insert bar อีกต่อไป
ตัดสายและปอกเปลือกออก
ทำการตัดแกนกลางออก สาย Cat.6 จะมีแกนกลาง Cat.5e จะไม่มีนะครับ
จัดเรียงสี ตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B หลังจากนั้นทำการตัดสายให้เท่ากัน
ก่อนดันเข้าไป จะต้องแน่ใจว่า เรียง Code สีถูกแล้ว เสร็จแล้ว ดันเข้าไปให้สุด
หลังจากนั้น นำมาใส่ที่คีม เพราะ บีบย้ำ พร้อมตัดสายที่เกินออกในเวลาเดียวกัน ก็จะได้ หัวแลน พร้อมใช้งาน ที่ง่ายและประหยัดเวลาได้มาก สำหรับ สำนักงานทั่วไป ก็สามารถทำเองได้
หลังจาก บีบย้ำแล้ว ก็ทำการทดสอบ ด้วยเครื่องวัดสาย FLUKE Network รุ่น DSX-8000 ที่ได้รับยอมรับว่าดีที่สุด ในตลาดเครื่องมือวัดสายแลน ทั้ง Cat.5e และ Cat.6
เราจึงมั่นใจว่า การใช้งานหัวสายแลนตัวผู้ ทั้งชนิด Cat.5e และ Cat.6 แบบ ง่ายๆ จะสามารถตอบโจทย์ใช้งานได้มากขึ้น และประหยัดเวลาของคุณ ได้มากขึ้นด้วย เช่นกัน
ทางทีมงานได้จัดทำ วีดี การสาธิต วิธีการเข้าสาย เบื้องต้นให้กับ ผู้ที่สนใจ
สำหรับร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย หรือ ผู้ที่สนใจทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่
Line@bismon
e-mail:sale@bismon.com
Tel:0-2563-5000
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ ทำไมต้องเลือกใช้สายแลน OUTDOOR FTP CAT6 กับงานระบบ INDUSTRIAL?
๐ สินค้า ZIRCON มีจำหน่ายแล้วที่ BISMON!